รุ่งอรุณแห่งการรักษาความดันโลหิตสูง

การสังเกตการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เป็นขั้นตอนแรกของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ มาแต่โบราณกาล กล่าวคือ เราจะค้นพบ "ความจริง" ของธรรมชาติ ก็ต่อเมื่อ เรามีการสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้น เราก็มาทำการวิเคราะห์ แยกแยะว่าข้อสังเกตที่เราได้มานั้น ทำให้เราได้ข้อสรุปเป็นอะไรแต่ทว่า การสังเกตการณ์ และการเก็บข้อมูลของมนุษย์เรานั้น มีข้อจำกัดในตัวอยู่ไม่มากก็น้อย การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี ต้องมีคุณลักษณะเหมือนกับนักสืบมือฉมัง กล่าวคือ ใส่ใจในรายละเอียด มีความรอบคอบถี่ถ้วน แต่กระนั้นก็ตาม แม้ว่าเราจะเก็บข้อมูลการสังเกตการณ์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติได้ถ้วนถี่มากแล้วก็ตาม แต่เราก็จะพบว่า การวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยสติปัญญาของมนุษย์เรา จะมีข้อจำกัดในตัวเองไม่น้อยเช่นกัน ในอดีต...ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณมาจนถึงยุคก่อนเรอนาซองส์ หรือเมื่อราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้คนในสมัยนั้น…

Continue Readingรุ่งอรุณแห่งการรักษาความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง – อารัมภบท

ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิต...สำคัญอย่างไร ผมเชื่อว่า เราเกือบทุกคน คงคุ้นเคยกับสิ่งที่เรียกว่า อุปกรณ์วัดความดันเลือด...ซึ่งลักษณะของอุปกรณ์วัดความดันที่ว่านี้ มีตั้งแต่รุ่นมาตรฐานดั้งเดิม (ที่เป็นแถบผ้าพันรอบแขนและมีสายยางสีดำๆ ต่อออกมาจากแถบผ้า ไปต่อกับแท่งแก้วที่บรรจุแกนปรอท มีลูกยางเอาไว้ปั้มลมอัดเข้าไปในแถบผ้า) ไปจนถึงเครื่องวัดความดันเลือดสมัยใหม่ ที่ไม่ต้องมาคอยบีบลูกยาง แล้วต้องมาจดจ้องดูระดับความสูงของปรอทที่ลดลงๆ ช้าๆ หลังจากคลายลูกยาง ..จากนั้น เมื่อสามารถระบุตัวเลขความดันเลือดได้ว่ามากน้อยเท่าไหร่ เราก็สามารถบอกได้ว่า ความดันเลือดในขณะนั้น สูงเกินไป ต่ำเกินไป หรือเป็นปกติดี ...แต่ทว่า...เราเคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่า ว่าทำไมเราต้องมานั่งวัดความดันเลือดกันด้วย มันจะจำเป็นขนาดนั้นเลยเหรอ...ไอ้แค่ตัวเลขความดันเลือด เรื่องรายละเอียดแค่การตรวจความดันเลือด แล้วระบุได้ว่าเมื่อไหร่จะเข้าเกณฑ์ของโรคความดันเลือดสูง สามารถหาอ่านได้จาก ที่นี่…

Continue Readingความดันโลหิตสูง – อารัมภบท

ความดันโลหิตสูง – ตอน 2

ความดันโลหิตสูง ทำไม ...ความดันเลือดมันสำคัญกันนักหนา ตอน 2 เมื่อพูดถึงกระแสเลือด เราก็ต้องนึกถึงแรงที่ทำให้น้ำเลือดสามารถเคลื่อนที่ไปในหลอดเลือดได้ แต่หากจะเปรียบเทียบให้พอมองภาพออก เรามาเริ่มจากการจินตนาการถึง สายธารแห่งหนึ่ง ในป่าดิบชื้น ซึ่งต้นธารก็คือน้ำตกแห่งหนึ่ง ...เราคงพอจะนึกออกว่า ลำธารสายนี้ น้ำในลำธารจะต้องไหลเป็นกระแสอย่างแน่นอน ส่วนจะไหลเชี่ยวแรงแค่ไหน ก็ขึ้นกับว่า “แรงกระทำ” ต่อสายน้ำ มันแรงแค่ไหน ถ้าหาก..น้ำตก ที่เป็นต้นธารแห่งสายน้ำนั้นๆ เป็นน้ำตกที่มีความสูงใหญ่ และทางน้ำ ก็ไหลลงมาเป็นธารแคบๆ...ดังนี้ คงพอนึกออกว่า กระแสน้ำน่าจะเชี่ยวกราก แม้แต่ก้อนหินใหญ่อาจจะล่องลอยตามกระแสน้ำได้ แต่ถ้าหาก..น้ำตก ต้นธารนั้นๆ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก…

Continue Readingความดันโลหิตสูง – ตอน 2