หลอดเลือดสมอง กับ ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด อันก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ ระบบหลอดเลือดแดงในสมองนั้น เป็นระบบท่อหลอดเลือดแดง ที่มีคุณสมบัติต่างไปจากระบบหลอดเลือดแดงที่อวัยวะอื่น กล่าวคือ หลอดเลือดแดงในสมอง จะมีแรงต้านทานการไหลเวียนต่ำ และกระแสไหลเวียน จะธำรงอยู่ตลอดช่วงการเต้นของหัวใจ ..โดยกระแสเลือดจะมีทิศทางไหลเข้าสู่สมองตลอดเวลา ไม่ว่าหัวใจจะบีบตัว หรือคลายตัว   ซึ่งต่างจากระบบกระแสเลือดแดงที่กล้ามเนื้อแขนขา ซึ่งในระยะหัวใจคลายตัว จะมีช่วงหนึ่งที่กระแสเลือดไหลสะท้อนกลับ เนื่องจากความต้านทานการไหลของน้ำเลือด เพราะจากคุณสมบัติของระบบหลอดเลือดแดง ที่จะมีแรงต้านทานการไหลเวียนต่ำมาก กระแสเลือดไหลผ่านได้ตลอดทั้งจังหวะหัวใจบีบตัวและคลายตัว ด้วยเหตุนี้ หลอดเลือดแดงในสมอง จะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันเลือดมากกว่าหลอดเลือดแดงในอวัยวะอื่น.. แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติได้สร้างระบบทางสรีรวิทยาของหลอดเลือดแดงในสมองไว้อย่างดี เพื่อควบคุมระดับแรงดันเลือดที่เข้าไปเลี้ยงเซลล์ประสาท และเซลล์พี่เลี้ยงอื่นๆ ภาวในโครงข่ายเซลล์ประสาทสมอง…

Continue Readingหลอดเลือดสมอง กับ ความดันโลหิตสูง

ภาวะหัวใจโต กับ ความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ แต่ขาดเลือด

ตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่าง ล่ำบึ๊กขึ้น ในคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นสัญญาณเริ่มต้น อย่างหนึ่งของภาวะหัวใจโต แต่ทีนี้ ..ปัญหาคือ แล้วภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว กำยำล่ำสันขึ้น หรือที่เรียกว่า Left Ventricular Hypertrophy – LVH นั้น... มันมีความสำคัญอย่างไร กล้ามเนื้อหัวใจล่ำสันผิดปกติ กับภาวะขาดเลือดไปเลี้ยง (LVH and Ischemia) ปกติแล้ว กล้ามเนื้อคนเรา ไม่ว่าจะเป็นที่กล้ามเนื้อแขนขา หรือกล้ามเนื้อหัวใจ ..มันจะมีกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยง ที่ได้สมดุลกับขนาดมวลกล้ามเนื้ออยู่เสมอ…

Continue Readingภาวะหัวใจโต กับ ความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ แต่ขาดเลือด

ภาวะหัวใจโต กับ ความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ LVH

จากหัวใจที่มีกล้ามล่ำบึ๊ก จนถึง..หัวใจวาย ปั้มเลือดไปไม่ไหวความดันโลหิตสูง ส่งผลโดยตรงต่ออวัยวะสำคัญหลายระบบ เพราะเส้นเลือดแดง คือ เส้นทางลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆนั่นเอง แรงดันในท่อเส้นเลือดที่สูงกว่าระดับที่เส้นเลือดจะรับไหว ก็จะทำให้ท่อหลอดเลือดค่อยๆเสื่อมสภาพลง แต่อวัยวะหัวใจนั้น มีความพิเศษกว่าอวัยวะอื่น ตรงที่ ตัวหัวใจเอง เป็นตัวปั้มเลือดออกจากหัวใจ หัวใจจึงเป็นตัวกำเนิดแรงดันเลือดในระบบไหลเวียนเลือดแดงโดยตรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราอย่าได้เข้าใจผิดไปว่า การที่เรามีภาวะความดันโลหิตสูงนั้น เป็นเพราะผลจากหัวใจออกแรงปั้มเลือด "แรง" เกินปกติ... ความเป็นจริง หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ตรงกันข้าม.. การที่ระดับแรงดันในระบบหลอดเลือดแดง สูงขึ้นมากกว่าขีดปกติ (ควรจะเป็นที่ระดับแรงดันเลือดไม่เกิน 120/80) มันจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องออกแรงเพิ่มขึ้น เพราะแรงต้านในระบบหลอดเลือดแดงสูงขึ้น พีงทราบ่ว่า..แรงดันต้านการบีบตัวของหัวใจห้องซ้าย คือ…

Continue Readingภาวะหัวใจโต กับ ความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ LVH

รุ่งอรุณแห่งการรักษาความดันโลหิตสูง

การสังเกตการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เป็นขั้นตอนแรกของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ มาแต่โบราณกาล กล่าวคือ เราจะค้นพบ "ความจริง" ของธรรมชาติ ก็ต่อเมื่อ เรามีการสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้น เราก็มาทำการวิเคราะห์ แยกแยะว่าข้อสังเกตที่เราได้มานั้น ทำให้เราได้ข้อสรุปเป็นอะไรแต่ทว่า การสังเกตการณ์ และการเก็บข้อมูลของมนุษย์เรานั้น มีข้อจำกัดในตัวอยู่ไม่มากก็น้อย การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี ต้องมีคุณลักษณะเหมือนกับนักสืบมือฉมัง กล่าวคือ ใส่ใจในรายละเอียด มีความรอบคอบถี่ถ้วน แต่กระนั้นก็ตาม แม้ว่าเราจะเก็บข้อมูลการสังเกตการณ์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติได้ถ้วนถี่มากแล้วก็ตาม แต่เราก็จะพบว่า การวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยสติปัญญาของมนุษย์เรา จะมีข้อจำกัดในตัวเองไม่น้อยเช่นกัน ในอดีต...ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณมาจนถึงยุคก่อนเรอนาซองส์ หรือเมื่อราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้คนในสมัยนั้น…

Continue Readingรุ่งอรุณแห่งการรักษาความดันโลหิตสูง

ประวัติศาสตร์ของ “ความดันโลหิต” ตอน 2

ประวัติศาสตร์การค้นพบของมนุษยชาติ.. มักจะเป็นอะไรที่ไม่ใช่ "เส้นตรง" หากแต่จะมีความยอกย้อน ขัดแย้งกันในตัวเอง ..สิ่งที่ดูเหมือนปลอดภัย กลับเป็นสิ่งที่อันตราย ..และสิ่งที่เห็นชัดๆในเวลาต่อมาว่าเป็นมหันตภัย กลับเคยรับรู้ปรากฏในรูปของสิ่งที่เป็นคุณอนันต์ ... สิ่งที่เคยยอมรับกันมานานว่าใช่ ว่าเป็นสัจจะนิรันดร์ กลับถูกยอมรับหลังกาลเวลาผ่านไป ว่าเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ ส่วนสิ่งที่ดูไม่น่าเชื่อ คลับคล้ายเหมือนนิทานหลอกเด็ก กลับต้องยอมรับกลายเป็นกฏพื้นฐานของสรรพสิ่ง ดังนั้น...แล้วอะไรเล่าคือ สิ่งที่จะบอกว่า ข้อสมมุติฐานประการไหนจริง ประการไหนเท็จ อย่างไหนเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด อย่างไหนคือเรื่องที่หลงงมงายมานาน... แม้คำตอบต่อคำถามนี้ เห็นชัดเจนอยู่ในตัว... ว่าสิ่งที่จะพิสูจน์ได้ว่าของแท้หรือเปล่า ก็คือ หลักฐานจากการทดลอง ผลปรากฏที่พิสูจน์ได้จริง จากการทดลอง…

Continue Readingประวัติศาสตร์ของ “ความดันโลหิต” ตอน 2

เส้นเลือดแดงกร่อน เมื่อความดันเลือดคงระดับสูง

แรงดันเลือดสูงนานๆ ทำให้ผิวด้านในหลอดเลือดแดงสึกกร่อน   การที่จะบอกว่า คนใดคนหนึ่งเป็นโรคความดันเลือดสูงหรือเปล่านั้น ..มันไม่ใช่เพียงแค่ว่า วัดความดันเลือดแล้วสูง ก็บอกเลยว่าเป็นโรคความดันสูง ประเด็นนี้ ต้องทำความเข้าใจกันนิดหน่อยครับ ...ว่าตัวเลขความดันเลือดที่วัดได้ กับโรคความดันสูงนั้น ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสมอไป วัดความดันเลือดได้เท่าไหร่ ก็คล้ายๆกับการบอกว่า รอบเครื่องยนต์ของรถที่เราขับนั้น มันเร่งขึ้นไปกี่พันรอบต่อนาที บางครั้ง เราเร่งเครื่อง เหยียบคันเร่งเพื่อแซงคันข้างหน้า รอบเครื่องก็ย่อมสูงกว่าขับแบบเรื่อยๆ พอเราผ่อนคันเร่งลงมา รอบเครื่องยนต์ ก็กลับมาระดับ “ปกติ” ..ทีนี้ คำว่าระดับเครื่องยนต์ที่เดินปกติ มันจะต้องกี่รอบนั้น มันก็ขึ้นกับว่า คนขับรถนั้น…

Continue Readingเส้นเลือดแดงกร่อน เมื่อความดันเลือดคงระดับสูง

ความดันโลหิตสูง – อารัมภบท

ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิต...สำคัญอย่างไร ผมเชื่อว่า เราเกือบทุกคน คงคุ้นเคยกับสิ่งที่เรียกว่า อุปกรณ์วัดความดันเลือด...ซึ่งลักษณะของอุปกรณ์วัดความดันที่ว่านี้ มีตั้งแต่รุ่นมาตรฐานดั้งเดิม (ที่เป็นแถบผ้าพันรอบแขนและมีสายยางสีดำๆ ต่อออกมาจากแถบผ้า ไปต่อกับแท่งแก้วที่บรรจุแกนปรอท มีลูกยางเอาไว้ปั้มลมอัดเข้าไปในแถบผ้า) ไปจนถึงเครื่องวัดความดันเลือดสมัยใหม่ ที่ไม่ต้องมาคอยบีบลูกยาง แล้วต้องมาจดจ้องดูระดับความสูงของปรอทที่ลดลงๆ ช้าๆ หลังจากคลายลูกยาง ..จากนั้น เมื่อสามารถระบุตัวเลขความดันเลือดได้ว่ามากน้อยเท่าไหร่ เราก็สามารถบอกได้ว่า ความดันเลือดในขณะนั้น สูงเกินไป ต่ำเกินไป หรือเป็นปกติดี ...แต่ทว่า...เราเคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่า ว่าทำไมเราต้องมานั่งวัดความดันเลือดกันด้วย มันจะจำเป็นขนาดนั้นเลยเหรอ...ไอ้แค่ตัวเลขความดันเลือด เรื่องรายละเอียดแค่การตรวจความดันเลือด แล้วระบุได้ว่าเมื่อไหร่จะเข้าเกณฑ์ของโรคความดันเลือดสูง สามารถหาอ่านได้จาก ที่นี่…

Continue Readingความดันโลหิตสูง – อารัมภบท

ความดันโลหิตสูง – ตอน 2

ความดันโลหิตสูง ทำไม ...ความดันเลือดมันสำคัญกันนักหนา ตอน 2 เมื่อพูดถึงกระแสเลือด เราก็ต้องนึกถึงแรงที่ทำให้น้ำเลือดสามารถเคลื่อนที่ไปในหลอดเลือดได้ แต่หากจะเปรียบเทียบให้พอมองภาพออก เรามาเริ่มจากการจินตนาการถึง สายธารแห่งหนึ่ง ในป่าดิบชื้น ซึ่งต้นธารก็คือน้ำตกแห่งหนึ่ง ...เราคงพอจะนึกออกว่า ลำธารสายนี้ น้ำในลำธารจะต้องไหลเป็นกระแสอย่างแน่นอน ส่วนจะไหลเชี่ยวแรงแค่ไหน ก็ขึ้นกับว่า “แรงกระทำ” ต่อสายน้ำ มันแรงแค่ไหน ถ้าหาก..น้ำตก ที่เป็นต้นธารแห่งสายน้ำนั้นๆ เป็นน้ำตกที่มีความสูงใหญ่ และทางน้ำ ก็ไหลลงมาเป็นธารแคบๆ...ดังนี้ คงพอนึกออกว่า กระแสน้ำน่าจะเชี่ยวกราก แม้แต่ก้อนหินใหญ่อาจจะล่องลอยตามกระแสน้ำได้ แต่ถ้าหาก..น้ำตก ต้นธารนั้นๆ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก…

Continue Readingความดันโลหิตสูง – ตอน 2
Read more about the article กลไกสาเหตุของความดันโลหิตสูง – ไต
3D render of a female medical figure with kidneys highlighted

กลไกสาเหตุของความดันโลหิตสูง – ไต

การทำหน้าที่ของ..ไต อวัยวะนี้ ใช่เพียงแค่กรองของเสียออกจากกระแสเลือดเท่านั้น ประเด็นนี้ ต้องทำความเข้าใจกันนิดหน่อยครับ ...ว่าตัวเลขความดันเลือดที่วัดได้ กับโรคความดันสูงนั้น ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสมอไป วัดความดันเลือดได้เท่าไหร่ ก็คล้ายๆกับการบอกว่า รอบเครื่องยนต์ของรถที่เราขับนั้น มันเร่งขึ้นไปกี่พันรอบต่อนาที บางครั้ง เราเร่งเครื่อง เหยียบคันเร่งเพื่อแซงคันข้างหน้า รอบเครื่องก็ย่อมสูงกว่าขับแบบเรื่อยๆ พอเราผ่อนคันเร่งลงมา รอบเครื่องยนต์ ก็กลับมาระดับ “ปกติ” ..ทีนี้ คำว่าระดับเครื่องยนต์ที่เดินปกติ มันจะต้องกี่รอบนั้น มันก็ขึ้นกับว่า คนขับรถนั้น ปกติขับที่ความเร็วเท่าไหร่ (และอาจจะมีปัจจัยอื่นอีก แต่เราจะไม่กล่าวถึงในที่นี้) เช่น สมมุติว่า…

Continue Readingกลไกสาเหตุของความดันโลหิตสูง – ไต

ความดันโลหิต วัดแค่สามเดือนครั้ง ไม่ได้

ความดันเลือด ..วัดสามเดือนครั้ง จะพอหรือ? แม้ว่า ระบบการปรับความดันในกระแสเลือด จะสามารถควบคุมความดันเลือดไม่ให้แกว่งมากเกินไปแบบรถไฟเหาะตีลังกาก็ตาม แต่โดยทั่วไปแล้วระดับความดันเลือด จะมีการแปรเปลี่ยนขึ้นลงตามปกติอยู่เรื่อยๆ ในช่วง 24 ชั่วโมง .เสมือนกับน้ำทะเลย่อมมีคลื่นบนผิวทะเล มิได้เป็นน้ำนิ่งเหมือนอยู่ในบ่อน้ำแต่อย่างใด เหตุใด น้ำทะเล จึงมีคลื่นกันเล่า?.....เหตุผลก็เพราะ “พลังงาน” จากกระแสลม ซึ่งก็ก่อตัวจากพลังงาน “ความร้อน” นั่นเอง เราลองคิดเปรียบเทียบกับ ระดับน้ำทะเล ที่ผมเคยกล่าวมา...ระดับน้ำทะเลปานกลาง คือค่าเฉลี่ยของระดับน้ำในช่วงเวลาหนึ่งๆ แน่นอน กลางคืน กับกลางวัน ระดับน้ำทะเล ไม่เท่ากันแน่ๆ...เพราะมีพระจันทร์ในตอนกลางคืน…

Continue Readingความดันโลหิต วัดแค่สามเดือนครั้ง ไม่ได้