คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย เตรียมตัว ก่อน..การผ่าตัดหัวใจ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย เตรียมตัว ก่อน..การผ่าตัดหัวใจการผ่าตัดหัวใจ เป็นเรื่องใหญ่สำหรับชีวิตคนคนหนึ่ง เพราะเหตุว่ามันเป็นการผ่าตัดใหญ่ ...ความเครียด ความวิตกกังวล จึงเกิดกับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มากน้อยต่างกันไปในแต่ละคน ...และการผ่าตัดหัวใจในผู้ป่วยแต่ละราย ก็มีความเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย หนักเบาไม่เท่ากันอีกเช่นกันมีคนไข้ของผมหลายท่าน ที่มักจะสอบถามว่า ต้องเตรียมตัวอย่างไร ก่อนการผ่าตัดหัวใจ ...คือ เล่าแล้วมันยาว ก็เลยสรุปให้อ่าน ณ ที่นี้ เลยจะสะดวกกว่าการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดหัวใจ จะมีหลักๆไม่กี่ประเด็น สรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้เรื่องการงดสูบบุหรี่ อย่างน้อยสองสัปดาห์ก่อนผ่าตัด (การงดบุหรี่ ถือเป็นข้อปฏิบัติมาตรฐานสำหรับการผ่าตัด ทุกประเภทที่ต้องมีการวางยาสลบ เพราะหลังผ่าตัด…

Continue Readingคำแนะนำสำหรับผู้ป่วย เตรียมตัว ก่อน..การผ่าตัดหัวใจ

หลอดเลือดสมอง กับ ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด อันก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ ระบบหลอดเลือดแดงในสมองนั้น เป็นระบบท่อหลอดเลือดแดง ที่มีคุณสมบัติต่างไปจากระบบหลอดเลือดแดงที่อวัยวะอื่น กล่าวคือ หลอดเลือดแดงในสมอง จะมีแรงต้านทานการไหลเวียนต่ำ และกระแสไหลเวียน จะธำรงอยู่ตลอดช่วงการเต้นของหัวใจ ..โดยกระแสเลือดจะมีทิศทางไหลเข้าสู่สมองตลอดเวลา ไม่ว่าหัวใจจะบีบตัว หรือคลายตัว   ซึ่งต่างจากระบบกระแสเลือดแดงที่กล้ามเนื้อแขนขา ซึ่งในระยะหัวใจคลายตัว จะมีช่วงหนึ่งที่กระแสเลือดไหลสะท้อนกลับ เนื่องจากความต้านทานการไหลของน้ำเลือด เพราะจากคุณสมบัติของระบบหลอดเลือดแดง ที่จะมีแรงต้านทานการไหลเวียนต่ำมาก กระแสเลือดไหลผ่านได้ตลอดทั้งจังหวะหัวใจบีบตัวและคลายตัว ด้วยเหตุนี้ หลอดเลือดแดงในสมอง จะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันเลือดมากกว่าหลอดเลือดแดงในอวัยวะอื่น.. แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติได้สร้างระบบทางสรีรวิทยาของหลอดเลือดแดงในสมองไว้อย่างดี เพื่อควบคุมระดับแรงดันเลือดที่เข้าไปเลี้ยงเซลล์ประสาท และเซลล์พี่เลี้ยงอื่นๆ ภาวในโครงข่ายเซลล์ประสาทสมอง…

Continue Readingหลอดเลือดสมอง กับ ความดันโลหิตสูง

ภาวะหัวใจโต กับความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ ..แต่กำลังหมดแรงปั้มเลือด

ปกติแล้ว หัวใจเรามีหน้าที่สำคัญหลัก คือ การให้กำเนิดกระแสเลือดไหลเวียนไปในระบบไหลเวียนเลือดของร่างกาย และระบบไหลเวียนเลือดไปปอด ...ซึ่งคำว่า กระแสเลือดในระบบไหลเวียนนั้น ย่อมไม่ได้หมายความถึงแค่การส่งแรงปั้มเลือดออกจากหัวใจอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังต้องคำนึงถึงการไหลเวียนของเลือดที่ออกจากอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย หรือปอด เพื่อกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้ง เป็นกระแสเลือดไหลเวียน วนอยู่ภายในระบบปิดของร่างกาย อวัยวะต่างๆจะทำงานเป็นปกติได้ ...เราจะไปเดินชอปปิ้ง ทำกิจกรรมทั่วไป โดยไม่เหนื่อย ...เราจะสามารถใช้สมองคิดการงานต่างๆอย่างแจ่มใส ...เราจะสามารถทานอาหารโดยไม่รู้สึกแน่นเร็วเกินไป ...ระบบไตจะขับกรองของเสียออกจากกระแสเลือดได้ดี ... ทั้งหมดเหล่านี้ ต้องการปริมาณเลือดไหลวนไปเลี้ยง อย่างเพียงพอ ต่อเนื่อง และผันแปรกับความต้องการใช้พลังงานของอวัยวะนั้นๆได้อย่างดี .. หัวใจ เป็นตัวให้กำเนิดกระแสเลือดไหลเวียน ไหลเข้าสู่อวัยวะต่างๆ…

Continue Readingภาวะหัวใจโต กับความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ ..แต่กำลังหมดแรงปั้มเลือด

ภาวะหัวใจโต กับความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ แต่เต้นไม่เป็นส่ำ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล่ำสันขึ้น หรือ LVH นั้น... เป็นภาวะที่ทำให้จู่ๆ หัวใจก็เต้นไม่เป็นส่ำจริงๆขึ้นมาได้ ..ซึ่งไม่ได้หมายถึงอาการใจเต้นไม่เป็นส่ำ หรือระทึกใจแต่อย่างใด หากแต่หมายถึง การที่กล้ามเนื้อหัวใจในบางส่วนมีกระแสไฟฟ้าสปาร์คขึ้นมา อาจจะมีไฟฟ้าสปาร์คขึ้นมาแค่จุดเดียว หรืออาจจะเกิดจากไฟฟ้าในกล้ามเนื้อหัวใจสปาร์คขึ้นมามากมายหลายตำแหน่ง พร้อมๆกัน ต้องทำความเข้าใจกันนิดนึงครับ คือ ปกติแล้ว หัวใจคนเราเต้นได้ตามจังหวะจะโคนนั้น ก็เพราะมีการให้จุดกำเนิดกระแสไฟฟ้า ที่จุดกำเนิดเหนือหัวใจห้องขวาบน (บริเวณรอยต่อหลอดเลือดดำใหญ่ที่รับเลือดมาจากร่างกายท่อนบน ต่อกับหัวใจห้องขวาบน) จุดกำเนิิดนี้ ก็เรียกภาษาตามตำแหน่งของมันคือ จุดกำเนิด ณ รอยต่อหัวใจขวาบน และหลอดเลือดดำใหญ่ หรือ Sino-Atrial Node…

Continue Readingภาวะหัวใจโต กับความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ แต่เต้นไม่เป็นส่ำ

ภาวะหัวใจโต กับ ความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ แต่ขาดเลือด

ตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่าง ล่ำบึ๊กขึ้น ในคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นสัญญาณเริ่มต้น อย่างหนึ่งของภาวะหัวใจโต แต่ทีนี้ ..ปัญหาคือ แล้วภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว กำยำล่ำสันขึ้น หรือที่เรียกว่า Left Ventricular Hypertrophy – LVH นั้น... มันมีความสำคัญอย่างไร กล้ามเนื้อหัวใจล่ำสันผิดปกติ กับภาวะขาดเลือดไปเลี้ยง (LVH and Ischemia) ปกติแล้ว กล้ามเนื้อคนเรา ไม่ว่าจะเป็นที่กล้ามเนื้อแขนขา หรือกล้ามเนื้อหัวใจ ..มันจะมีกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยง ที่ได้สมดุลกับขนาดมวลกล้ามเนื้ออยู่เสมอ…

Continue Readingภาวะหัวใจโต กับ ความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ แต่ขาดเลือด

ภาวะหัวใจโต กับ ความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ LVH

จากหัวใจที่มีกล้ามล่ำบึ๊ก จนถึง..หัวใจวาย ปั้มเลือดไปไม่ไหวความดันโลหิตสูง ส่งผลโดยตรงต่ออวัยวะสำคัญหลายระบบ เพราะเส้นเลือดแดง คือ เส้นทางลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆนั่นเอง แรงดันในท่อเส้นเลือดที่สูงกว่าระดับที่เส้นเลือดจะรับไหว ก็จะทำให้ท่อหลอดเลือดค่อยๆเสื่อมสภาพลง แต่อวัยวะหัวใจนั้น มีความพิเศษกว่าอวัยวะอื่น ตรงที่ ตัวหัวใจเอง เป็นตัวปั้มเลือดออกจากหัวใจ หัวใจจึงเป็นตัวกำเนิดแรงดันเลือดในระบบไหลเวียนเลือดแดงโดยตรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราอย่าได้เข้าใจผิดไปว่า การที่เรามีภาวะความดันโลหิตสูงนั้น เป็นเพราะผลจากหัวใจออกแรงปั้มเลือด "แรง" เกินปกติ... ความเป็นจริง หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ตรงกันข้าม.. การที่ระดับแรงดันในระบบหลอดเลือดแดง สูงขึ้นมากกว่าขีดปกติ (ควรจะเป็นที่ระดับแรงดันเลือดไม่เกิน 120/80) มันจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องออกแรงเพิ่มขึ้น เพราะแรงต้านในระบบหลอดเลือดแดงสูงขึ้น พีงทราบ่ว่า..แรงดันต้านการบีบตัวของหัวใจห้องซ้าย คือ…

Continue Readingภาวะหัวใจโต กับ ความดันโลหิตสูง – หัวใจกล้ามใหญ่ LVH

ความดันโลหิต กับ หัวใจ และระบบหลอดเลือดแดง

ความดันโลหิตสูง กับ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว Hypertension and Left Ventricular Hypertrophy โดยทั่วไปแล้ว เราจะนิยามความหมาย ของภาวะความดันโลหิตสูง โดยการวัดค่าแรงดันที่กระทำต่อผนังท่อหลอดเลือด ที่แขน .. ซึ่งค่าแรงดันเลือดที่วัดได้ เราจะอนุมานเอาว่าเป็นค่าแรงดันที่พอเทียบเคียงได้กับค่าแรงดันเลือด ที่ตำแหน่งขั้วหัวใจ ค่าแรงดันที่แขน เป็นค่าความดันเลือดที่เราคุ้นเคยกันดี แต่ค่าความดันที่มีผลโดยตรงต่อระบบการไหลเวียนเลือดแดง ที่หัวใจ และสมอง นั้น... จะเป็นค่าความดันเลือด ในตำแหน่งหลอดเลือดแดงใหญ่ขั้วหัวใจ มากกว่า แรงดันเลือดที่ขั้วหัวใจนี้ มีผลโดยตรงต่อ "แรงต้าน" การปั้มเลือดออกจากหัวใจฝั่งซ้าย…

Continue Readingความดันโลหิต กับ หัวใจ และระบบหลอดเลือดแดง

หลอดเลือดหัวใจตีบตัน

เส้นเลือดหัวใจคนเรา มีเส้นเลือดหลักอยู่สามเส้นสัญญา เที่ยงบูรณธรรมศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอกCopyright © sanyaheart.comReferences:90th Anniversary of the Development by Nikolai S. Korotkoff of the Auscultatory Method of Measuring Blood Pressure. Circulation. 1996;94:116-118Manual of Hypertension of The European Society of Hypertension. Second…

Continue Readingหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

รุ่งอรุณแห่งการรักษาความดันโลหิตสูง

การสังเกตการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เป็นขั้นตอนแรกของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ มาแต่โบราณกาล กล่าวคือ เราจะค้นพบ "ความจริง" ของธรรมชาติ ก็ต่อเมื่อ เรามีการสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้น เราก็มาทำการวิเคราะห์ แยกแยะว่าข้อสังเกตที่เราได้มานั้น ทำให้เราได้ข้อสรุปเป็นอะไรแต่ทว่า การสังเกตการณ์ และการเก็บข้อมูลของมนุษย์เรานั้น มีข้อจำกัดในตัวอยู่ไม่มากก็น้อย การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี ต้องมีคุณลักษณะเหมือนกับนักสืบมือฉมัง กล่าวคือ ใส่ใจในรายละเอียด มีความรอบคอบถี่ถ้วน แต่กระนั้นก็ตาม แม้ว่าเราจะเก็บข้อมูลการสังเกตการณ์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติได้ถ้วนถี่มากแล้วก็ตาม แต่เราก็จะพบว่า การวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยสติปัญญาของมนุษย์เรา จะมีข้อจำกัดในตัวเองไม่น้อยเช่นกัน ในอดีต...ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณมาจนถึงยุคก่อนเรอนาซองส์ หรือเมื่อราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้คนในสมัยนั้น…

Continue Readingรุ่งอรุณแห่งการรักษาความดันโลหิตสูง

ประวัติศาสตร์ของ “ความดันโลหิต” ตอน 2

ประวัติศาสตร์การค้นพบของมนุษยชาติ.. มักจะเป็นอะไรที่ไม่ใช่ "เส้นตรง" หากแต่จะมีความยอกย้อน ขัดแย้งกันในตัวเอง ..สิ่งที่ดูเหมือนปลอดภัย กลับเป็นสิ่งที่อันตราย ..และสิ่งที่เห็นชัดๆในเวลาต่อมาว่าเป็นมหันตภัย กลับเคยรับรู้ปรากฏในรูปของสิ่งที่เป็นคุณอนันต์ ... สิ่งที่เคยยอมรับกันมานานว่าใช่ ว่าเป็นสัจจะนิรันดร์ กลับถูกยอมรับหลังกาลเวลาผ่านไป ว่าเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ ส่วนสิ่งที่ดูไม่น่าเชื่อ คลับคล้ายเหมือนนิทานหลอกเด็ก กลับต้องยอมรับกลายเป็นกฏพื้นฐานของสรรพสิ่ง ดังนั้น...แล้วอะไรเล่าคือ สิ่งที่จะบอกว่า ข้อสมมุติฐานประการไหนจริง ประการไหนเท็จ อย่างไหนเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด อย่างไหนคือเรื่องที่หลงงมงายมานาน... แม้คำตอบต่อคำถามนี้ เห็นชัดเจนอยู่ในตัว... ว่าสิ่งที่จะพิสูจน์ได้ว่าของแท้หรือเปล่า ก็คือ หลักฐานจากการทดลอง ผลปรากฏที่พิสูจน์ได้จริง จากการทดลอง…

Continue Readingประวัติศาสตร์ของ “ความดันโลหิต” ตอน 2